ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงบประมาณ

 

ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงบประมาณสถานศึกษา กรณีศึกษา สถาบันราชภัฎสวนสุนันทา
INFORMATION SYSTEM BUDGETING MANAGEMENT OF AN ACADEMIC INSTITUTE CASE STUDY : RATJABHAT INSTITUTE SUAN SUNANDHA
ชื่อนิสิตนทิยา วิวัฒน์วานิชกุล
Natiya Viwatvanichkul
ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษากวี ไกรระวี M S วิทวัส ณ นคร Ph D ช่วงโชติ พันธุเวช Ph D อ วินิจ เทือกทอง Ed D
Kavee Krairavee M S Wittawat Na Nacara Ph D Chuangchote Bhuntuvech Ph D Vinit Thueakthong Ed D
ชื่อสถาบันมหาวิทยาลัยมหิดล. บัณฑิตวิทยาลัย
Mahidol University. Bangkok (Thailand). Graduate School.
ระดับปริญญาและรายละเอียดสาขาวิชาวิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. วิทยาศาสตร์ (เทคโนโลยีการจัดระบบสารสนเทศ)
Master. Science (Technology of Information System Management)
ปีที่จบการศึกษา2543
บทคัดย่อ(ไทย)การวิจัยเรื่องระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงบประมาณ สถาบันราชภัฎสวนสุนันทา มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงบประมาณ โดยสร้างฐานข้อมูล งบประมาณแบบฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ ในการประมาณการรายรับ การจัดทำคำขอตั้งงบประมาณ และควบคุมการใช้งบประมาณ และใช้กระบวนการพัฒนาระบบในแนวทางแบบวอเตอร์ฟอล์ล (waterfall approach) ซึ่งมีกระบวนการในการพัฒนา คือ ศึกษาการบริหารงบประมาณ จากสำนักวางแผนและพัฒนา ข้อมูลต่าง ๆ จากเอกสาร สัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ถึงปัญหาและความ ต้องการ จากนั้นทำการออกแบบระบบสารสนเทศประมาณการรายรับ การจัดทำคำขอตั้งงบประมาณ และการควบคุมงบประมาณ ออกแบบโครงสร้างฐานข้อมูลงบประมาณและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ ข้อมูลโดยใช้ Microsoft Access 97 เป็นระบบจัดการฐานข้อมูล (DBMS) พัฒนาโปรแกรมบริหาร งบประมาณ ประกอบด้วย 4 กระบวนงาน คือกระบวนงานประมาณการรายรับ กระบวนงานการ จัดทำคำขอตั้งงบประมาณ กระบวนงานงบประมาณเพื่อควบคุมงบประมาณ และกระบวนงานข้อมูล ครุภัณฑ์ โดยใช้ Microsoft Visual Basic สร้างส่วนต่อประสานผู้ใช้ ใช้ระบบปฏิบัติการ Microsoft Windows 98 ทำงานแบบเครื่องเดียว (stand alone) และสร้างรายงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงบประมาณด้วยโปรแกรม Crystal Report การประเมินผลมี 2 ส่วนคือ ประเมินผลโปรแกรมบริหารงบประมาณ จะใช้วิธีการทดสอบ แบบ Black Box Testing โดยให้เจ้าหน้าที่สำนักวางแผนฯ เป็นผู้ทดสอบ เมื่อพบปัญหาผู้วิจัย จึงทำการแก้ไขจนครบถ้วน และการประเมินความพอใจของระบบฯ โดยใช้แบบสอบถามสำรวจความ คิดเห็นผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ฝ่ายแผนงานฯ เจ้าหน้าที่ดูแลระบบ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับงาน งบประมาณ พบว่าการดำเนินงานของระบบได้ครบกระบวนการ ผลลัพธ์ที่ได้ถูกต้อง ประหยัดเวลา ในการดำเนินงาน และช่วยลดภาระงานของเจ้าหน้าที่ได้
บทคัดย่อ(English)This study was done to develop an information system for budgeting management for an academic institute. in a case study of Rajabhat Institute Suan Sunandha. The objectives of this study were to develope the information system for budgeting by using a relational model for estimating income and to set up the requirements for budget setting and budget controlling that used the waterfall approach for the developing method. The developing processes used were : 1) studied the budgeting administration from the plan and development division. 2) gathered the data from current system. 3) interviewed and got requirements from involved officers, 4) designed the information system for estimating income and to set up the requirements for budget setting and budget controlling. The database was designed by relational database using Microsoft Access 97 as the database management system (DBMS). An application program was developed which included 4 processes: 1) estimating income process, 2) the process to set up the requirements for budget setting, 3) the process to set up the requirements for budget controlling and 4) the equipment data process. The application program was developed using Microsoft Visual Basic 6.0 as the compiler, to create reports by the Crystal Report program, and Microsoft Windows 98 as the operating system, run on stand alone. There were 2 parts to the evaluation l.) an application program evaluation by Black Block testing and 2.) users satisfaction evaluation. From the evaluation results, the information system for budgeting management received fairly good feedback. It was found that the users were satisfied with the correction of output, whole process gathering, time saving and officer task reducing.
ภาษาที่ใช้เขียนวิทยานิพนธ์974-664-805-5

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

สภาพ ปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัยหาการบริหารงบประมาณ